ลักษณะของมูลค้างคาว
มูลค้างคาวใหม่  จะมีกลิ่นฉุน   เนื่องมาจากกลิ่นของก๊าซแอมโมเนียจากปัสสาวะของค้างคาว   เมื่อระยะเวลาผ่านไป ก๊าซแอมโมเนียจะระเหยไปเรื่อยๆ จนเกือบหมดกลิ่น   ถ้าทิ้งไว้ในถ้ำนาน 3-5 เดือน กระทั่งกลายเป็นมูลค้างคาวเก่า หรือมูลค้างคาวแห้ง จะไม่มีกลิ่นฉุนอีกต่อไป  เมื่อมูลค้างคาวสลายตัวต่อไปเรื่อยๆ  จะกลายเป็นผงละเอียด  ในบางแหล่งมีการสะสมกันนานในถ้ำ  จนกลายเป็น  หินฟอสเฟต  ชนิดหนึ่ง  ที่มีประโยชน์ต่อพืชสูงมาก มูลค้างคาวใหม่   เมื่อย่อยสลายแล้วจะได้มูลค้างคาวเก่า  เรียกว่า กัวโนฟอสเฟต  ดังนั้น  “มูลค้างคาวเก่าจะมีธาตุอาหารสูงกว่ามูลค้างคาวใหม่  และไม่มีกลิ่น”

มูลค้างคาว และ กัวโนค้างคาว 
ค้างคาวในโลกนี้มีหลายชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือค้างคาวกินผลไม้และ กินแมลงเป็นอาหาร ออกหากินตอนกลางคืน พักและนอนตอนกลางวัน พื้นถ้ำ ทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ในถ้ำที่ค้างคาวอาศัยอยู่ยังไม่มีการขุดค้นนำมูลค้างคาวออกมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากสภาพพื้นที่ในการทำการเกษตรยังมีความสมบูรณ์ มีประชากน้อย ค้างคาวเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมและการเกษตรของโลกอย่างมาก ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค้างคาวช่วยกินแมลงที่เป็นศัตรูพืช ซึ่งช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี มูลค้างคาว มีแร่ธาตุอาหาร และ จุลินทรีย์ เป็นประโยชน์ในการเป็นอาหาร การปรับปรุงบำรุงดินให้พืชเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตตลอดจนการ ป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดที่ราก หรือโคนต้นของพืชอีกด้วยโดยเฉพาะการช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำลายรากพืช หรือการทำลายเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเน่าโคนเน่าของพืช 

ค้างคาวที่อาศัยอยู่ในถ้ำจะทำการขับถ่ายมูลออกมาทุกวันลงสู่พื้นถ้ำ ทับถมสะสมกันหนาขึ้นระหว่าง 1-5 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของถ้ำจำนวนประชากรค้างคาวและอายุที่ค้างราวอาศัย อยู่ มูลค้างคาวที่ถ่ายออกมา และมูลค้างคาวเมื่อทำปฏิกิริยากับไอน้ำในถ้ำเกิดก๊าซแอมโมเนียมเป็นอันตราย ต่อชีวิตมนุษย์ แต่ค้างคาวสามารถอยู่ได้ 

คือ พื้นหินก้นถ้ำที่มูลค้างคาว และซากศพค้างคาวที่ตายทับถมตลอดจนหินบนเพดานถ้ำ ที่หล่นมาที่พื้นถ้ำ จะทำการย่อยสลายมูลค้างคาว และซากศพค้างคาวโดยมีจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยสลาย ในขณะที่ขบวนการย่อยสลายที่เกิดขึ้นกับมูลค้างคาว และซากศพของค้างคาวนั้น มีผลต่อหินก้นถ้ำซึ่งจะถูกย่อยสลายไปด้วย บางถ้ำมีระยะเวลา 100-1000 ปี จนทำให้หินในถ้ำกลายเป็นแร่ธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ป้องกันกำจัดโรคพืช และการปรับปรุงบำรุงดินต่อการปลูกพืช จึงเรียกว่ากัวโนค้างคาว หรือบางทีเราเรียกว่าอินทรีย์ฟอสเฟต (คือหินฟอสเฟตที่ถูกย่อยสลายกลายเป็นอินทีย์วัตถุ) อยู่ลึกประมาณ 5-20 เมตร 

คุณค่าของมูลค้างคาว และกัวโนค้างคาว 
แร่ธาตุอาหาร มูลค้างคาวมีแร่ธาตุอาหารหลัก รองเสริม กรดฟูลวิก กรดฮิวมิคสูงและไคโตซาน ซึ่งอยู่ในสภาพที่ค่อย ๆ ละลายช้า ไม่ละลายเร็วหรือสลายตัวเร็ว การที่ธาตุอาหารค่อย ๆ ละลายจะลดการสูญเสีย ละเหยไปในอากาศ ช่วยให้พืชดูดกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในมูลค้างคาวจะมีไนโตรเจน และอินทรียวัตถุสูงกว่ากัวโนค้างคาว แต่จะมีฟอสเฟตน้อยกว่า 

จุลินทรีย์ ในมูลค้างคาวและกัวโน 
จะ มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ (เชื้อรา แบคทีเรีย และ แอคติโนมายซีส) ในการช่วยย่อยสลายเศษวัสดุในดินให้กลายเป็นปุ๋ย และละลายธาตุอาหารที่ตกค้างในดินให้กลายเป็นปุ๋ย ตลอดจนการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย และโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรีย 

ประโยชน์ของมูลค้างคาวและกัวโนค้างคาว 
1. ปรับปรุงบำรุงดิน เพราะมูลค้างคาว และกัวโนค้างคาว มีแร่ธาตุพวกแคลเซียมที่ช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรด ให้ดินกลายเป็นกลางมีความเหมาะสมต่อการดูดซึมแร่ธาตุอาหาร ในการเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และลด ต้นทุน ในการเพาะปลูกพืชทุกชนิด 
2. มีแร่ธาตุอาหารหลักรอง เสริม อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 
3. มีกรดฮิวมิค ซึ่งเป็นตัวช่วยละลายฟอสเฟตที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ให้กลายเป็นอาหารของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4. ทำ ให้ดินร่วนซุย เนื่องจากดินได้ถูกปรับสภาพให้เป็นกลางแล้ว เมื่อมีอินทรีย์วัตถุ และจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลาย เศษวัสดุที่ตกค้างในดินแล้ว ยังเป็นการช่วยให้รากพืชแผ่ขยาย ดูดกินอาหารได้มากขึ้น และยังช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินให้อีกด้วย 
5. มีจุลินทรีย์ที่ช่วยป้องกันและกำจัดโรคพืช พวกไส้เดือนฝอยและโรครากเน่าโคนเน่า เช่น  เชื้อ Actinomycetes sp. Trichoderma spp. Bacillus sp. 
6. มีประจุไฟฟ้าที่ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุอาหารของพืชลดการใช้ปุ๋ยเคมี 
7. เป็นสารอินทรีย์ธรรมชาติและมีน้ำหนักโมเลกุลสูงทำให้เกิดประโยชน์ต่อพืชได้นาน ไม่เกิดการสูญเสีย 
8. มีไคโตซานช่วยยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช เช่น เชื้อ 
-ไวรัสโรคพืช                                                                
– แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด  
– เชื้อรา เช่น ไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม              
– แอนแทรคโนส เมลาโนส รากเน่า โคนเน่า

กลุ่มงานวิจัยปุ๋ยเคยนำแร่จากแหล่งนี้มาทำการทดลองทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริก สามารถทำเป็นปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตที่มีคุณสมบัติที่ดีได้ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อจำกับอยู่ที่ คุณภาพแปรปรวน มีปริมาณและแหล่งเล็ก ๆ กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ไม่สามารถนำมาพัฒนาอุตสาหกรรมปุ๋ยฟอสเฟตได้ สินแร่กัวโนฟอสเฟตนี้ผู้เชี่ยวชาญ ได้ให้ความเห็นว่า การนำไปใช้ในท้องถิ่นน่าคุ้มค่าต่อการลงทุนสูงกว่าการพัฒนา เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยเคมีฟอสเฟตอื่น ๆ การใช้กัวโนฟอสเฟตชนิดนี้เหมาะที่จะใช้ในดินกรด และควรใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี (หรือใช้เป็น Filler ในการปั้นเม็ดปุ๋ยเคมี) ไม่เหมาะสม เนื่องจากมีสมบัติเป็นด่างเมื่อผมสมกับแม่ปุ๋ยไนโตรเจนจะทำให้เกิด การสูญเสีย ไนโตรเจนในรูปของก๊าซแอมโมเนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมปุ๋ยกัวโนฟอสเฟตกับยูเรีย ปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยผสมจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อระยะเวลาในการเก็บ รักษานานขึ้น

มูลค้างคาวมีข้อดีที่น่าสนใจหลายประการคือ 
1. มีปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชสูงกว่าปุ๋ยชนิดอื่น ในบรรดาปุ๋ยอินทรีย์โดยทั้วไป และสูงทัดเทียมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 
2.    ผลการใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวนอกจากจะให้ธาตุอาหารพืชที่พอเพียงแล้ว ยังช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดินบางอย่างให้ดีขึ้น เช่น ทำให้ดินร่วนไม่เกาะกันแน่นเมื่อแข็งตัว ความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ในระดับที่พอเหมาะกับความเจริญเติบโตของพืช
3.      การใช้มูลค้างคาวอยู่เสมอย่อมจะทำให้เชื้อแบคทีเรียในดินทำงานดีขึ้น เป็นประโยชน์แก่พืชทางอ้อมในการสลายตัวของอินทรียสาร เปลี่ยนเป็นธาตุอาหารพืชได้ง่ายขึ้น 
4.   ปัญหาเรื่องการขุดธาตุอาหารใช้ปริมาณน้อยอื่น ๆ หมดไป ธาตุอาหารเสริมเหล่านี้ได้แก่ ธาตุแมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน และโมลิบเดมั่ม จะมีอยู่เพียงพอในปุ๋ยมูลค้างคาว 
5. การใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวสม่ำเสมอติดต่อกันย่อมจะทำให้มีผลตกค้างของปุ๋ยเหลือ สะสมอยู่ในดินและค่อย ๆ สลายเป็นอาหารพืชภายหลังได้อีกด้วย 
6. มูลค้างคาวเป็นมูลสัตว์ที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส เนื่องจากเป็นสัตว์กินแมลง เหมาะสำหรับใส่ไม้ผลที่ให้กลิ่นหอม เช่น ทุเรียน ลื้นจี่ กล้วยหอม ลำไย มังคุด ละมุด ขนุน  มะม่วง เป็นต้น
7. มีการใช้มูลค้างคาวละลายน้ำ แล้วนำมัดต้นกล้าข้าวไปแช่ให้ท่วมรากก่อนนำไปปักดำเป็นวิธีที่ง่าย และสะดวก ในการให้ปุ๋ยฟอสเฟตแก่ข้าว ในการทำนาใกล้ถ้ำ มูลค้างคาวโดยเฉพาะที่ภาคใต้ 
8. อัตราการใช้มูลค้างคาว ควรใช้ให้น้อยกว่าปุ๋ยคอกหรือจะใช้วิธีผสมมูลค้างคาวร่วมกับปุ๋ยคอกอื่น ๆ และเศษซากพืชที่ผุพังเน่าเปื่อยแล้ว เพื่อลดความเข้มข้น ให้น้อยลงก่อนนำไปใช้ 

 

มูลค้างคาวมีข้อดี  หลายประการ   กล่าวได้ดังนี้
1. มีธาตุอาหารครบทั้ง 13 ชนิด   ที่พืชต้องการจากทางดิน คือ ไนโตรเจน ,ฟอสฟอรัส , โปแตสเซี่ยม , แคลเซี่ยม,  แมกนีเซี่ยม , กำมะถัน ,
โบรอน , เหล็ก,  แมงกานีส , สังกะสี , โมลิบดินั่ม , ทองแดง และ คลอรีน
2. ให้ธาตุฟอสฟอรัสมากเป็นพิเศษ ดังนั้น  จึงมีบทบาทในการเร่งให้พืชติดดอกออกผลได้ดีขึ้น  เหมาะเป็นพิเศษกับไม้ดอก  และ   สวนผลไม้ 
3.  การใช้มูลค้างคาวอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทำงานได้ดีขึ้น  ทำให้เกิดการสลายตัวของอินทรีย์สาร  ธาตุอาหารพืช   ที่ถูกดินยึดไว้ละลายกลับออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกครั้ง
4. ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน  กระตุ้นการแตกราก  ทำให้ การดูดธาตุอาหาร และ น้ำ จากดินเพิ่มขึ้น  ส่งเสริมการเจริญเติบโตต่อพืช  จึงเหมาะกับพืชทุกชนิด
5.  เสริมสร้างผนังเซลล์ของพืช    ทำให้ขั้วเหนียวบำรุงต้นให้เจริญเติบโต    และช่วยป้องกันโรครากเน่า   โคนเน่า  ที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย